cpp-worldwide.com
เกษตรกร คือ คู่ชีวิต

ความรู้คู่เกษตร

  • เลขหน้ากระสอบปุ๋ยคืออะไร?
    หน้ากระสอบผลิตภัณฑ์ธาตุอาหารพืช หรือที่เราเรียกว่า ปุ๋ย มีตัวเลขที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป ความหมายของตัวเลข 3 ชุด หรือสูตรปุ๋ยหน้ากระสอบ ก็คือ การแสดงค่าปริมาณธาตุอาหารพืช 3 ตัว ตัวแรก N คือไนโตรเจน ตัวที่ 2 P คือฟอสฟอรัส และตัวที่ 3 K คือโพแทสเซียม โดยธาตุอาหาร 3 ตัวนี้ เป็นธาตุอาหารหลักของพืช ที่ทางบริษัทผู้ผลิตใส่ส่วนผสมลงไป โดยที่ต้องมีปริมาณธาตุอาหารไม่น้อยกว่าที่กฏหมายกำหนด โดยทุกสูตรจะต้องขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร และได้รับอนุญาตก่อน จึงจะสามารถวางจำหน่ายได้ ดังนั้นผู้ซื้อควรตรวจสอบเลขทะเบียนที่กระสอบก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อให้ได้สินค้าที่ถูกกฎหมาย และได้มาตรฐาน ทั้งนี้การทำการเกษตรในแต่ละปี จะทำให้สูญเสียธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ปีละหลายแสนตัน ทำให้ดินเสื่อมโทรม จากความไม่สมดุลของธาตุอาหารพืช...
    รายละเอียดเพิ่มเติม
  • ตรวจดินทำอย่างไร
    “ดิน” เป็นปัจจัยสำคัญ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช เพราะฉะนั้นเกษตรกรควรรู้จักดินของตนเอง เพื่อให้ทราบ...ปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน ปัญหาของดิน และวิธีการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญเราจะได้สามารถใช้ปุ๋ยได้เหมาะสมกับความต้องการของพืช วิธีการตรวจดินมี 4 ขั้นตอน 1. การเก็บตัวอย่างดิน 2. การวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์เฉพาะทางของธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรอง ประกอบไปด้วย การเตรียมตัวอย่าง การสกัด การวิเคราะห์ปริมาณ 3. การแปลความหมายของผลการวิเคราะห์ดิน 4. การให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยหรือการปรับปรุงดิน วิธีเก็บตัวอย่างดิน มีขั้นตอนง่ายๆ 3 ข้อ 1. สุ่มเก็บตัวอย่างดินประมาณ 16 จุดต่อหนึ่งตัวอย่าง กระจายทั่วแปลงแบบฟันปลาหรือกากบาท 2. แต่ละจุดขุดลึกประมาณ 15 เซนติเมตร...
    รายละเอียดเพิ่มเติม
  • ในดินมีธาตุอาหารไหม...ทำไมปลูกต้นไม้ต้องใส่ปุ๋ย
    การปลูกพืชในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปลูกเพื่อประกอบอาชีพ ปลูกกิน หรือปลูกเพื่อความสวยงาม ก็ต้องใส่ปุ๋ย เพื่อให้ออกดอก ออกผล แต่เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมต้องใส่ปุ๋ย ปุ๋ยที่เคยใส่ไปแล้วไปไหน ไม่ใส่ได้ไหม พืชจะโตหรือเปล่า ขอเริ่มกันที่เรื่องของธาตุอาหารพืชที่จำเป็นและยอมรับกันอย่างกว้างขวางของพืชกันก่อน ซึ่งมีอยู่ 17 ธาตุ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ธาตุอาหารมหธาตุ (macronutrients หรือ major elements) คือ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก และขาดไม่ได้ โดยมีความเข้มข้นของธาตุอาหารโดยน้ำหนักแห้ง เมื่อพืชเจริญเติบโตเต็มวัยสูงกว่า 500 พีพีเอ็ม ได้แก่ คาร์บอน, ไฮโดรเจน และออกซิเจน ซึ่งได้จากน้ำ และอากาศ ส่วนไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม และกำมะถัน พืชได้จากดิน สำหรับ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม เรียกรวมกันว่าธาตุอาหารหลักหรือธาตุปุ๋ย...
    รายละเอียดเพิ่มเติม
  • ส่วนประกอบของดิน
    ส่วนประกอบของดิน ดินทั่วๆไปจะมีธาตุอาหารหลักอยู่ ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมที่จำเป็นต่อพืช แต่ธาตุอาหารที่มีจะแตกต่างกัน เพราะมีวัตถุต้นกำเนิดดิน และปริมาณของส่วนประกอบของดิน ผสมกันด้วยสัดส่วนไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นผลมาจากของการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ความแปรปรวนของอุณหภูมิ ความชื้น ลม กระแสน้ำ และการกระทำของมนุษย์ เป็นต้น ดินในพื้นที่หนึ่งอาจเหมือนหรือแตกต่างกับดินอีกพื้นที่หนึ่งได้ ส่งผลให้ดินมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว ดิน คือวัตถุที่เกาะตัวกันเป็นกลุ่มก้อนรวมตัวกันเป็นชั้น ๆ ปกคลุมผิวบนของเปลือกโลก เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเอง โดยขบวนการสลายตัวของแร่ธาตุต่างๆ ผสมกับอินทรียวัตถุ เมื่อแบ่งส่วนประกอบของดินตามความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช ได้เป็น...
    รายละเอียดเพิ่มเติม
  • พันธุ์ข้าวโพดรุ่นฝน
    พันธุ์ข้าวโพดรุ่นฝน การปลูกข้าวโพดรุ่นฝน ถือเป็นฤดูกาลหลักของประเทศไทย โดยการปลูกข้าวโพดรุ่นฝน จะมีการปลูกแยกตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ แบ่งเป็น 3 พื้นที่ คือ ที่ลุ่ม ที่ราบ ที่เนินหรือที่ดอน พันธุ์ข้าวโพดที่เหมาะสมกับแต่ละสภาพพื้นที่ 1. พื้นที่ลุ่ม ที่ดินริมแม่น้ำ ริมหนอง คลอง บึง และอ่างเก็บน้ำ จะมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน เกษตรกรต้องเลือกพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ไม่เกิน 100 วัน เพื่อให้เก็บเกี่ยวได้ก่อนน้ำจะขึ้นเมื่อถึงกลางฤดูฝน ดังนั้น เราไม่ต้องมัวไปเลือกพันธุ์อายุยาว ยืนต้นนานๆ ให้เสียเวลา พื้นที่นี้เราจะพบได้ใน ภาคเหนือ เช่น จังหวัดลำปาง จังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงราย 2. พื้นที่ราบ หรือที่ไร่ พื้นที่ดินมีความสม่ำเสมอ เป็นพื้นที่หลักของการปลูกข้าวโพด สามารถปลูกได้ทั้ง ต้นฤดูฝน...
    รายละเอียดเพิ่มเติม
  • เรื่องต้องรู้ ก่อนปลูกข้าวโพด
    .pd10 {padding:10px;} ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 61/62 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดประมาณ 6.76 ล้านไร่ มีผลผลิตรวม 4.5 – 5 ล้านตันต่อปี แต่ประเทศไทยมีความต้องการใช้ข้าวโพดประมาณ 8 ล้านตัน โดยผลผลิตส่วนใหญ่นำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น อาหารไก่เนื้อ ไก่ไข่ และสุกร การปลูกข้าวโพดแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ต้นฤดูฝน 72% ปลายฤดูฝน 23% และฤดูแล้งหรือหลังนา 5% สิ่งสำคัญที่สุดในการปลูกข้าวโพดเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ประการแรก คือ เกษตรกรต้องรู้จักสภาพแปลงปลูก และชนิดดิน เพื่อจะได้เลือกพันธุ์และการดูแลรักษาให้เหมาะสม สภาพพื้นที่ปลูกข้าวโพดในไทย สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่ม 1. ที่ลุ่ม คือ ที่ดินริมแม่น้ำ ริมหนอง คลอง บึง และอ่างเก็บน้ำ ซึ่งจะมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน ดังนั้น ต้องปลูกและเก็บเกี่ยวข้าวโพดก่อนน้ำท่วม หรือปลูกหลังน้ำลด...
    รายละเอียดเพิ่มเติม
  • ดินมีกี่ประเภท...รู้ยัง?
    ดินกับการเจริญเติบโตของพืช พืชแต่ละชนิดเจริญเติบโตในดินแตกต่างกัน การปลูกพืชจึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการปลูกพืชแต่ละประเภท นอกจากนี้ยังสามารถปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชชนิดนั้นๆ แต่ก่อนอื่นเราต้องรู้จักดินของเรากันก่อน ประเภทของดินประเภทของดิน นักปฐพีวิทยาแบ่งดินออกเป็น 3 ประเภท โดยแบ่งจากสีดินและเนื้อดิน 1. ดินทราย เป็นดินเนื้อหยาบ มีเหลือง หรือน้ำตาลและสีมักจะซีด 2. ดินร่วน เป็นดินเนื้อปานกลาง มีน้ำตาลจนถึงสีดำ 3. ดินเหนียว เป็นดินเนื้อละเอียด มีสีดำ เทา แดง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเป็นดินประเภทไหน เหมาะกับพืชอะไร ดินทราย เมื่อสัมผัสดูจะสากมือมาก เวลาสังเกตดูจะเห็นว่าไม่เกาะติดกัน จะเห็นอยู่เป็นเม็ดๆเมื่อแห้ง ถ้าเป็นก้อนพอจับขึ้นมาจะแตกออกจากกัน ถ้าดินชื้นใส่ลงไปในฝ่ามือและกำให้แน่น...
    รายละเอียดเพิ่มเติม
  • มาทำความรู้จักกับปุ๋ย K กันเถอะ
    K โพแทสเซียม เน้นสร้างเนื้อของผล ให้ดก ให้ใหญ่ สร้างแป้งในหัวใต้ดิน ให้ปริมาณและน้ำหนักผลผลิตสูงขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์ของ ปุ๋ยซี.พี.หมอดิน กลุ่ม K สูง มีคุณสมบัติช่วยในการเพิ่มผลผลิต การเลือกปุ๋ยที่เหมาะกับการเพาะปลูกจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม 
    รายละเอียดเพิ่มเติม
  • มาทำความรู้จักกับปุ๋ย P กันเถอะ
    P ฟอสฟอรัส - เร่งการเจริญเติบโตของราก เน้นบำรุงดอก และช่วยสะสมอาหาร พืชที่ได้รับฟอสฟอรัสอย่างเพียงพอจะมีระบบรากที่แข็งแรงแพร่กระจายอยู่ในดิน อย่างกว้างขวาง สามารถดึงดูดน้ำและธาตุอาหารได้ดี การออกดอกออกผลจะเร็วขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์ของ ปุ๋ยซี.พี.หมอดิน กลุ่ม P สูง มีคุณสมบัติช่วยบำรุง ให้รากแข็งแรง ให้พืชติดดอกดี ดอกสมบูรณ์ ทำให้ติดผลดี  การเลือกปุ๋ยที่เหมาะกับการเพาะปลูกจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม   
    รายละเอียดเพิ่มเติม
  • มาทำความรู้จักกับปุ๋ย N กันเถอะ
    N ไนโตรเจน - เน้นบำรุงใบ กิ่ง ก้าน และลำต้นให้แข็งแรง เป็นธาตุอาหารหลักของพืช มีหน้าที่ส่งเสริมโปรตีนในพืช ทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะกิ่งและใบของพืชต่าง ๆ  พืชที่ได้รับไนโตรเจนอย่างเพียงพอ ใบจะมีสีเขียวสด มีความแข็งแรง โตเร็ว หากพืชได้รับไนโตรเจนไม่เพียงพอ จะแคระแกร็น โตช้า ใบเหลือง โดยเฉพาะใบล่าง ๆ จะแห้ง ร่วงหล่นเร็ว สำหรับผลิตภัณฑ์ของ ปุ๋ยซี.พี.หมอดิน กลุ่ม N สูง มีคุณสมบัติช่วยเร่งการเจริญเติบโตของต้น ช่วยให้พืชแตกใบอ่อนเร็ว ใบใหญ่ ใบหนา ใบเขียวเร็ว เขียวนาน การเลือกปุ๋ยที่เหมาะกับการเพาะปลูกจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม
    รายละเอียดเพิ่มเติม
  • ประโยชน์ดีๆ อินทรีย์คูณ 3
    ประโยชน์ดีๆ อินทรีย์คูณ 3 แค่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ก็ได้ถึง 3 ประโยชน์  1. พืชได้ประโยชน์  - ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้พืช - กระตุ้นให้จุลินทรีย์สร้างอาหารแก่พืช - ช่วยดูดยึดธาตุอาหารไว้ให้แก่พืช 2. ดินได้ประโยชน์  - ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำและธาตุอาหารได้ดี - ช่วยให้ความเป็นกรด-ด่างของดินมีความเหมาะสม - ช่วยป้องกันหน้าดินเสีย 3. เกษตรกรได้ประโยชน์  - มีราคาถูก และสามารถหาได้ง่าย - มีวิธีการการใส่ไม่ยุ่งยาก - ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกร
    รายละเอียดเพิ่มเติม
  • พันธุ์ข้าวโพดหลังนา
    พันธุ์ข้าวโพดหลังนา ในปัจจุบัน การปลูกข้าวโพดหลังนามีความสนใจปลูกกันมากขึ้น เนื่องจากการดูแลรักษาง่ายกว่าพืชอื่น ผลผลิตในฤดูแล้งก็สามารถขายได้ราคาดี สภาพดินในนาส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำขังง่าย มีทั้งสภาพดินทราย ดินร่วน และดินเหนียว ดังนั้นการปลูกข้าวโพดในนาจะต้องมีการระบายน้ำให้ดี การปลูกข้าวโพดหลังนา น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังนั้นจะต้องมั่นใจว่าจะสามารถให้น้ำได้เพียงพอตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 800 – 900 ลูกบาศก์เมตร ต่อ 1 ไร่ หรือ 500 – 600 มิลลิเมตร ต่อ 1 ฤดูกาลเพาะปลูก ปัจจุบันประเทศไทยมีการปลูกข้าวโพดหลังนา ประมาณ 5% หรือ คิดเป็น 350,000 ไร่ แต่มีแนวโน้เพิ่มขึ้นทุกปี เกษตรกรมีการพัฒนาระบบชลประทานกันมากขึ้น เพื่อให้สามารถปลูกข้าวโพดได้ทั้งปี ข้าวโพดหลังนาจะเป็นข้าวโพดที่ให้คุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวที่ดีมาก...
    รายละเอียดเพิ่มเติม
โหลดเพิ่ม